วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560

 ( ช่วงสอบกลางภาควันที่ 22 - 28 กุมภาพันธ์ 2560 )

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
(การศึกษานอกสถานที่)

ณ โรงเรียนเกษมพิทยา


          วันนี้ได้โอกาสมาศึกษาสังเกตการเรียนการสอนของการเรียนแบบเรียนรวมโดยอาจารย์ได้
มอบหมายให้ศึกษาคือ สังเกตพฤติกรรมของเด็กพิเศษ ตามกลุ่มของตนเองที่อาจารย์ได้กำหนด
ไว้ให้แล้วว่ากลุ่มไหนจะสังเกตระดับชั้นไหน กลุ่มของฉันได้ระดับชั้นอนุบาล 3/2 มีสามชิกกลุ่ม
จำนวน 7 คน
          ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่การเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย เด็กๆต้องเข้าแถวเคารพธงชาติและออกกำลังกายก่อนที่จะเข้าสู่ห้องเรียนของตนเอง

วีดีโอ การออกกำลังกายตอนเช้าของโรงเรียนเกษมพิทยา
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560



          ต่อมาอาจารย์ทางโรงเรียนเกษมพิทยาก็ได้ให้นักศึกษาและอาจารย์ที่มาศึกษาดูงานจาก
จังหวัดเชียงรายได้เข้าพูดคุยและกล่าวเปิดงานการต้อนรับที่ห้องประชุมของทางโรงเรียน


วีดีทัศน์ แนะนำโรงเรียนเกษมพิทยา


โรงเรียนเกษมพิทยา ระดับชั้นอนุบาล เปิดรับสมัครนักเรียนโดย
* ไม่เน้นเรื่องของอายุ แต่เน้นในเรื่องของพัฒนาการเด็ก *

สื่อ การให้ความรู้เกี่ยวกับ
เรื่อง "การพัฒนาภาษาธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัย"






เอกสารแนะนำ แผนกอนุบาล โรงเรียนเกษมพิทยา













ความรู้ที่ได้รับ

การสังเกตพฤติกรรมเด็กพิเศษ
ระดับชั้นอนุบาล 3/2 
(มีเด็กพิเศษทั้งหมด 3 คน สังเกต 2 คน อีก 1 คน ไม่มาเรียน)


คุณครูที่ปรึกษาชื่อ คุณครู กัลยา เทพวงษ์ (คุณครูจก)
นักศึกษาฝึกสอน
   
1. นายธนรัตน์  วุฒิชาติ (คุณครูบอส)
   2. นางสาวจิราวรรณ จันทร์หนองหว้า (คุณครูหน่อย)
   3. นางสาวนีรนุช  วงศ์อิสลาม (คุณครูนี)                                                      
                                                                               
                            
                                                                                                                                  
การสังเกตเด็กคนที่ 1

ประวัติ
ชื่อ
เด็กชายรัฐนันท์ นิธิวุฒิวรรักษ์

ชื่อเล่น น้องเน็ต
เพศ ชาย
อายุ 7 ปี  
ลักษณะอาการ เด็กดาวน์ซินโดรม

พฤติกรรม
   - ตอนเช้าน้องเล่นของเล่นโยนลูกบอลกับเพื่อน 1-2 คน ระหว่างที่น้องเน็ตโยนลูกบอลน้องจะพูด
     ว่า "เอ้ย" , "อื้อ" แล้วก็หัวเราะกับเพื่อนๆ
   - ถ้าคุณครูผู้สอน หรือพี่เลี้ยงไม่สนใจ น้องเน็ตจะแสดงพฤติกรรมออกมาโดยการเรียกร้อง
     ความสนใจพฤติกรรมที่น้องแสดงคือ การร้องโวยวายด้วยการตะโกนออกมา หรือไม่ก็ปาสิ่งของ
   - ถ้าคุณครูบอสทำโทษน้องเน็ตโดยการตี น้องจะไม่ร้องไห้ แต่ถ้าคุณครูบอสบอกว่า
     "ไม่รักแล้ว จะไปไหนก็ไปเลย" น้องเน็ตจะร้องไห้แสดงความเสียใจออกมา เมื่อรู้ว่าคุณครู
     ไม่รักตนแล้ว
   - น้องเน็ตไม่ชอบขอความช่วยเหลือจากเพื่อน แต่ชอบขอความช่วยเหลือจากคุณครูโดยการสะกิด
     บอกแล้วชี้ไปที่สิ่งที่น้องต้องการ บางครั้งน้องก็จะไม่บอกคุณครูแล้วจะไปทำเอง เมื่อน้องมีอาการ
     ปวดปัสสาวะแต่น้องไม่บอกคุณครู คุณครูสังเกตน้องโดยการเห็นน้องจับที่อวัยวะเพศตนเอง
     ดังนั้นคุณครูต้องรีบพาน้องไปเข้าห้องน้ำอย่างเร็ว
   - น้องเน็ตชอบทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ชอบเป็นผู้นำกิจกรรมเพื่อนแล้วให้เพื่อนๆ
     ทำตามตน
   - น้องเน็ตเป็นเด็กดาวน์ซินโดรมที่มีปัญหาด้านสายตาด้วย มีนิสัยที่ขี้อ้อน ชอบอ้อนคุณครูบอส
     ชอบการถ่ายรูป แต่ถ้าเมื่อไหร่น้องเน็ตได้ถ่ายรูปน้องจะไม่สนใจคนรอบข้าง
   - น้องเน็ตสามารถเคลื่อนไหวร่างกายและเคลื่อนไหวตามครูผู้สอนได้
   - ขณะที่คุณครูต่างชาติสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องการแต่งกาย น้องเน็ตจะนั่งฟัง นั่งดูครูผู้สอน
     โดยที่ไม่ยุ่งวุ่นวายกับครูผู้สอนเหมือนเด็กคนอื่นๆ แต่น้องสามารถทำกิจกรรมร่วมกับคุณครู
     และเพื่อนๆ ได้
   - ระหว่างที่ทำกิจกรรม คุณครูให้เด็กๆเขย่าสื่อการสอนที่เป็นรูปไข่ร่วมกับเพื่อนๆ น้องเน็ตมี
     พฤติกรรมที่แสดงออกมาให้เห็นคือ น้องเข้าไปกอดเพื่อนที่เป็นเพศตรงข้าม แล้วก็ทำกิจกรรม
     ต่อไป





การสังเกตเด็กคนที่ 2



ประวัติ
ชื่อ
 เด็กหญิงณิชารีย์ คอลล์ (ลูกครึ่ง ไทย-อังกฤษ)
ชื่อเล่น น้องณิชา
เพศ หญิง
อายุ 6 ปี ครึ่ง
ลักษณะอาการ เด็กออทิสติก

พฤติกรรม
   - ลักษณะอาการของน้องณิชาเหมือนเด็กปกติกทั่วไป
   - น้องณิชามีปัญหาเรื่องอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ค่อยได้ ชอบโวยวาย ไม่ยุ่งกับใคร
   - น้องณิชามีพื้นฐานทางภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ เลยทำให้น้องมีความสามารถในด้านภาษาอังกฤษ
     ที่เก่งกว่าเด็กคนอื่น
   - น้องณิชาจะให้คุณครูบอสรู้ว่าตนเองไม่สบาย โดยการจับมือคุณครูบอสแล้วไปลูบที่ใบหน้าของตน
   - ขณะที่คุณครูต่างชาติสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องการแต่งกาย น้องณิชาสามารถตอบคำถามคุณครู
     และสนทนากับคุณครูโดยการเล่าประสบการณ์เดิมในเรื่องการแต่งกายของตนเอง
     เป็นภาษาอังกฤษได้
   - น้องณิชาชอบดึงแก้มของตนเอง ดึงจนแก้มน้องแดง
   - ถ้าเราเรียกชื่อเล่นน้อง "น้องณิชาคะ" น้องจะไม่สนใจเราเหมือนกับไม่ได้ยินเสียงเราเรียก
     แต่ถ้าเรียกน้องแล้ว เข้าไปจับตัวน้อง พูดคุยกับน้อง น้องจะตอบเราพูดคุยกับเราได้ แต่ไม่ได้ตอบ
     ทุกคำถาม ระหว่างที่เราพูดคุยกับน้อง น้องณิชาจะแสดงอาการเหมือนไม่รู้จักเรา ไม่กล้าพูดคุย
     กับคนแปลกหน้าและก็ไม่สบตาด้วย




การสังเกตเด็กคนที่ 3
(ไม่ได้สังเกตพฤติกรรมน้องเนื่องจากน้องไม่ได้มาโรงเรียน แต่สอบถามข้อมูลพฤติกรรม/ประวัติ
ของน้องจากคุณครูประจำชั้นและคุณครูฝึกสอน)



ประวัติ
ชื่อ
 เด็กหญิงโซนา ไซโตะ
ชื่อเล่น น้องโซนา
เพศ หญิง
อายุ 6 ปี
ลักษณะอาการ เด็กดาวน์ซินโดรม

พฤติกรรม
   - น้องโซนามีปัญหาด้านสังคม ไม่สนใจเพื่อน และไม่เข้ากับสังคมเลย
   - น้องโซนามีพัฒนาการด้านการเรียน การทำงานส่งคุณครูดีกว่าเด็กคนอื่น


ภาพบรรยากาศในการศึกษาสังเกตการสอน






      ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวปิดงาน และนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 3 
กลุ่มเรียน 102 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มอบของที่ระลึกให้กับ
ทางโรงเรียนเกษมพิทยา และตัวแทนของนักศึกษากล่าวขอขอบพระคุณทางโรงเรียนเกษมพิทยา ขอบคุณคุณครูทุกท่านที่ให้การการต้อนรับเป็นอย่างดี และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษา
หาความรู้และข้อคิด แนวการเรียนการสอนที่ดีที่ถูกต้องกับนักศึกษา นักศึกษาทุกคนหวังว่า
จะนำความรู้ที่ได้รับอย่างมากมายในวันนี้ไปเป็นบทเรียนการศึกษา และจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
และในอนาคตข้างหน้าค่ะ





การนำความรู้ไปใช้
     วันนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษเป็นอย่างมาก และยังได้รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ที่เกิดขึ้นกับเด็กพิเศษด้วย ได้ความรู้จากการเล่าประสบการณ์เดิมของคุณครูผู้สอนและสังเกต
จากการสอนของคุณครูฝึกสอน ดังนั้นความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง
และเป็นแบบอย่างในการเรียนการสอนที่ดีที่ถูกต้องในชีวิตประจำวันและในอนาคตได้

การประเมิน
     - ประเมินตนเอง : ให้ความสนใจ ตั้งใจในการศึกษาสังเกตการสอนแบบเรียนรวม ให้ความเคารพ
                               และให้เกียรติสถานที่ ครูอาจารย์ รุ่นพี่ เพื่อนๆทุกคน ตรงต่อเวลา
                               และรับผิดชอบในงานที่ตนเองได้รับ
     - ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันดีทุกคน น่ารัก มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
                              และตั้งใจทำงาน ที่ตนเองได้รับมอบหมายเช่นกัน
     - ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักกันทุกๆคน มีความเป็นกันเอง ให้การต้อนรับที่ดีมาก 
                            ดูแลเอาใจใส่นักศึกษาและครูต่างโรงเรียน ต่างจังหวัดได้ถึงขั้นที่ดีมากที่สุดค่ะ 



วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดอบรม

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560


เนื้อหาการเรียนการสอน

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)
     - เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
     - เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
     - ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ 
        หรือความบกพร่องทางร่างกาย
    สาเหตุของ LD
      - ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้
        (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
      - กรรมพันธุ์
     
      1. ด้านการอ่าน
  (Reading Disorder)
          - หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
          - อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
          - ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้ 
          ตัวอย่างด้านการอ่าน   
           หาว      >>>>>>  หาม / หา
           ง่วง       >>>>>>  ม่วง / ม่ง /่ง่ง
           เลย       >>>>>>  เล
           อาหาร   >>>>>>  อาหา
           เก้าอี้     >>>>>>  อี้
           อรัญ      >>>>>>  อะรัย
         ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการอ่าน
           - อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
           - อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
           - เดาคำเวลาอ่าน
           - อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
           - อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
           - ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
           - ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
           - เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

      2. ด้านการเขียน
  (Writing Disorder)
          - เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
          - เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
          - เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
        ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
          - ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
          - เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
          - เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-นภ-ถด-คพ-ผ, b-d, p-q, 6-9
          - เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
          - เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
          - เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
          ตัวอย่างด้านการเขียน
           ปาลแผล    >>>>>>   บาดแผล
           รัมระบาล    >>>>>>   รัฐบาล
           ผีเสื้อมดุร   >>>>>>   ผีเสื้อสมุทร
           ไกรรง        >>>>>>   กรรไกร
           เกสรกะ      >>>>>>   เกษตรกร
           ดักทุก        >>>>>>   บรรทุก
           เสรฐ          >>>>>>   สำเร็จ
           ไอระ          >>>>>>   อะไร
           เชิย           >>>>>>    เชย
           โบณาร      >>>>>>    โบราณ
           นาสือ        >>>>>>    หนังสือ
           ละเมย       >>>>>>    ละเมอ
        - จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
        - สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
        - เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
        - เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
        - ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง



      3. ด้านการคิดคำนวณ
 (Mathematic Disorder)
           - ตัวเลขผิดลำดับ
           - ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
           - ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
           - แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
            ตัวอย่างด้านการคิดคำนวณ
                                                               
                                                                     16 + 8 = 24

                                                                     เด็กปกติคิด                                                                    

                                                            


                                                                     เด็ก L.D. คิด
    
                                                              


              ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
               - ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
               - นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
               - คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
               - จำสูตรคูณไม่ได้
               - เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
               - ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
               - ตีโจทย์เลขไม่ออก
               - คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
               - ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
      4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
          อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
             - แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
       - มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
       - เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
       - งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
       - การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
       - สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
       - เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
       - ทำงานช้า
       - การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
       - ฟังคำสั่งสับสน
       - คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
       - ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
       - ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
       - ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
       - ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

7. ออทิสติก (Autistic)



        - หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
        - เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
        - ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
        - ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
        - เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
        - ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

นิยามของเด็กออทิสติก

ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว " 

          ทักษะภาษา
          ทักษะทางสังคม
          ทักษะการเคลื่อนไหว
          ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่


              ลักษณะของเด็กออทิสติก
                 - อยู่ในโลกของตนเอง
                 - ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
                 - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
                 - ไม่ยอมพูด
                 - เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
                 ตัวอย่างลักษณะของเด็กออทิสติก
                  ดูหน้าแม่                                   >>>>>>  ไม่มองตา
                  หันไปตามเสียง                          >>>>>>  เหมือนหูหนวก
                  เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม                   >>>>>>   เคยพูดได้ ต่อมาหยุดพูด
                  ร้องเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้    >>>>>>   ไม่สนใจคนรอบข้าง
                  จำหน้าแม่ได้                             >>>>>>   จำคนไม่ได้
                  เปลี่ยนของเล่น                          >>>>>>   นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
                  เคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย     >>>>>>    มีพฤติกรรมแปลกๆ
                  สำรวจและเล่นตุ๊กตา                  >>>>>>    ดมหรือเลียตุ๊กตา
                  ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ   >>>>>>   ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง
                                                                                 ทำร้ายคนอื่นโดยไม่มีสาเหตุ

         เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

       ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
         - ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
         - ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
         - ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
         - ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น
      ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
         - มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
         - ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนา
           กับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
         - พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษา
           อย่างไม่เหมาะสม
         - ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
      มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
         - มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
         - มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตร
           หรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
         - มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
         - สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ
      พฤติกรมการทำซ้ำ
         - นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
         - นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
         - วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
         - ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
      
     พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)         - ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม         - การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย         - การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ      ไม่สามารถวินิจฉัยให้เข้าข่ายโรคใดๆได้
   ออทิสติกเทียม

         1. ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ
         2. ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
         3. ดูการ์ตูนในทีวี
     Autistic Savant (ออทิสติกอฉริยะ)         
         - กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)
             จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)         
        - กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)           
             จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
         ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษและเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆ และยังได้ทบทวนความรู้
เดิมจากการเรียนการสอนเด็กพิเศษที่ผ่านมา สามารถนำไปใช้ให้เกิดความจำที่แม่นยำที่ดีกว่าเดิม

การประเมิน
   - ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย 
   - ประเมินเพื่อน   : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการฟังเมื่อครูสอน
   - ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมการสอนมาได้ครบถ้วนและดีมาก