วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันพุธที่ 25 มกราคม 2560


เนื้อหาการเรียนการสอน

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
    (Children with Speech and Language Disorders)
    เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด
    หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุง
แต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
    1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
  เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
  ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน"  กวาด ฟาด
  เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
  เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"
    2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
 พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
 การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
 อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
 จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
 เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
    3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
        ความบกพร่องของระดับเสียง
 เสียงดังหรือค่อยเกินไป
 คุณภาพของเสียงไม่ดี
     ความบกพร่องทางภาษา
     หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถ
แสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
      1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language 
  •  มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
  •  มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
  •  ไม่สามารถสร้างประโยคได้
  •  มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
  •  ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วน ๆ
       2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง 
           โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
  •  อ่านไม่ออก (alexia)
  •  เขียนไม่ได้ (agraphia )
  •  สะกดคำไม่ได้
  •  ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
  •  จำคำหรือประโยคไม่ได้
  •  ไม่เข้าใจคำสั่ง
  •  พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
  Gerstmann’s syndrome
  • ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
  • ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
  •  คำนวณไม่ได้ (acalculia)
  •  เขียนไม่ได้ (agraphia
  •  อ่านไม่ออก (alexia)
      ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
  •  ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบา ๆ และอ่อนแรง
  •  ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
  •  ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
  •  หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
  •  ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
  •  หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
  •  มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
  •  ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย

5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
    (Children with Physical and Health Impairments)


  • เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
  • เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
  • มีปัญหาทางระบบประสาท
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
   โรคลมชัก (Epilepsy)
       เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองมีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติ
และมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
   1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
    • อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10วินาที
    • มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
    • เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
    • เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
   2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
      เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที 
   จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู
   3.อาการชักแบบ Partial Complex
   • มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
   • เหม่อนิ่ง 
   • เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูด
   • หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
  4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
       เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ 
  เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
    เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขา
 กระตุก กัดฟัน กัดลิ้น 


        การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
        • จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
        • ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
        •  หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
        •  ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
        •  จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
        •  ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
        •  ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ

    ซี.พี. (Cerebral Palsy)



        •  การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลัง
           พัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
        •  การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ 
           ของสมองแตกต่างกัน
     1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
        • spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
        • spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
        • spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน
        • spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
    



       2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)


          •  athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ 
             เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
          •  ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
       3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed
           กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)


          • เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว
          • เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
          • จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
    โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
       ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
     • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง 
       กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
     • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ




       
     โปลิโอ (Poliomyelitis)



           •  มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
           •  ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
         
          โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta)


         
           โรคศีรษะโต (Hydrocephalus)


          โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)


           - โรคระบบทางเดินหายใจ
           - โรคเบาหวาน
(Diabetes mellitus)
           - โรคหัวใจ (
Cardiac Conditions)
           - โรคมะเร็ง (Cancer)
           - เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)

         แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)



Lena Maria


Nick Vujicic


                 ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
               •  มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
               •  ท่าเดินคล้ายกรรไกร
               •  เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
               •  ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ
               •  มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
               •  หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
               •  หกล้มบ่อย ๆ
               •  หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ



ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
         ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษและเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆ และยังได้ทบทวนความรู้
เดิมจากการเรียนการสอนเด็กพิเศษที่ผ่านมา สามารถนำไปใช้ให้เกิดความจำที่แม่นยำที่ดีกว่าเดิม

การประเมิน
   - ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย 
   - ประเมินเพื่อน   : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการฟังเมื่อครูสอน
   - ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมการสอนมาได้ครบถ้วนและดีมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น